การวิเคราะห์และออกแบบพื้น
Post tension ด้วยวิธี
Equivalent frame method เป็นวิธีที่นิยมใช้เป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่ายและมีความรวดเร็ว สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมการคำนวณ หรือ
spread sheet ได้ง่าย โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
จากขั้นตอนข้างต้นนำไปออกแบบพื้น
Post tension ที่มีลักษณะโครงสร้างตามรูปด้านล่าง โดยใช้การคำนวณมือ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
DON_POST และโปรแกรมต่างประเทศ
โดยทั้งสามวิธีใช้จำนวนลวดเท่ากันคือ
spanที่ 1&2 ลวดอัดแรง 16 เส้น spanที่ 3 ใช้ลวดอัดแรง 11 เส้น จัดโปรไฟล์ลวดเหมือนกัน เพื่อทำให้
stress ที่
top&Bottom fiber ผ่านตามข้อกำหนด และมี
balance load อยู่ในช่วงที่แนะนำไว้
ตารางแสดงผลการคำนวณโมเมนต์เพิ่มค่า
จากผลการวิเคราะห์ โครงสร้างเพื่อหาค่าโมเมนต์ที่เกิดขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ในโครงสร้าง พบว่าผลของแต่ละวิธีที่ใช้คำนวณมีค่าใกล้เคียงกัน ความแตกต่างเล็กน้อยที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากสมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างที่อาจจะแตกต่างกัน และความละเอียดในการคำนวณ
เมื่อทราบขั้นตอนในการออกแบบพื้น
Post tension แล้ว การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบจะทำให้สามารถออกแบบได้เร็วขึ้น โดยการดูผลลัพธ์ ตรวจสอบและปรับแก้จนการออกแบบผ่าน
design criteria ต่างๆ จะเป็นไปตามขั้นตอนใน
Flow chart
ตัวอย่างการคำนวณคลิก!!
หมายเหตุ
โปรแกรม
DON_POST เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรง ที่พัฒนาโดยคนไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับวงการการออกแบบพื้น
Post tension ผลที่ออกมาใกล้เคียงกับการคำนวณโดยโปรแกรมต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการแสดงข้อมูลที่สำคัญต่อผู้ออกแบบอาคารคือแสดงผลโมเมนต์ที่ถ่ายไปสู่เสาในแบบกราฟิก ช่วยให้ผู้ออกแบบอาคารสามารถตรวจสอบได้ว่าค่าโมเมนต์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสาหรือไม่
การพัฒนาขั้นต่อๆ ไป ของโปรแกรม
DON_POST จึงมีความน่าสนใจในการตอบสนองการออกแบบพื้น
Post tension และในอนาคตน่าจะสามารถพัฒนาจนมีความสามารถเท่ากับโปรแกรมเชิงพาณิชย์ทั่วไปได้
เอกสารอ้างอิง
1. “คู่มือเฉพาะทาง การออกแบบระบบโพสเทนชั่น”
TumCivil
2. โปรแกรมช่วยออกแบบพื้นโพสเทนชั่น และแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก “
Don_Post”
ดร. สรกานต์ ศรีตองอ่อน
ดาวน์โหลดบทความคลิก!!
Unknown
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559