ในการก่อสร้างอาคารเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีช่องเปิดสำหรับงานระบบหรือช่องเปิดเพื่อความสวยงาม ในพื้นไร้คานตำแหน่งช่องเปิดมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผลกับกำลังในการรับน้ำหนักของแผ่นพื้น โดยเฉพาะบริเวณหัวเสาที่แผ่นพื้นต้องการกำลังมากเพื่อรับ
แรงเฉือนเจาะทะลุ (Punching shear) ดังนั้นการให้คำแนะนำแก่ผู้กำหนดตำแหน่งช่องเปิดจึงมีความสำคัญ และถ้าจำเป็นต้องมีช่องเปิดในตำแหน่งที่ค่อนข้างวิกฤติโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและออกแบบแก้ไขให้แผ่นพื้นมีความแข็งแรงเพียงพอ
ในการพิจารณาช่องเปิดในแผ่นพื้น จะขอจำแนกออกเป็นสองลักษณะคือ
1. ช่องเปิดที่กำหนดก่อนการก่อสร้าง
2. ช่องเปิดที่เจาะเพิ่มหลังการก่อสร้าง
1.ช่องเปิดที่กำหนดก่อนการก่อสร้าง
เนื่องจากช่องเปิดส่งผลเสียกับกำลังในการรับน้ำหนักของแผ่นพื้น ถ้าเราทราบปัญหาก่อน เราจะสามารถหาแนวทางแก้ไขหรือให้คำแนะนำ เพื่อกำหนดให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุดกับกำลังของแผ่นพื้นได้ ใน
Note on ACI318-05 ได้แนะนำตำแหน่งและขนาดของช่องเปิด ดังรูป
ภาพแสดงตำแหน่งและขนาดของช่องเปิด ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังของพื้น
- บริเวณ
Middle strip ตัดกับ
Middle strip สามารถมีช่องเปิดขนาดเท่าไหร่ก็ได้ที่ไม่กระทบการจัดระยะลวดอัดแรง
(ACI 13.4.2.1)
- บริเวณ Column strip ตัดกับ
Column strip แนะนำให้ช่องเปิดมีขนาดไม่เกิน l1/16
(ACI 13.4.2.2)
- สำหรับบริเวณ
Column strip ตัดกับ
Middle strip ใน
ACI318 หัวข้อ 13.4.2.3 กำหนดไว้ว่า เหล็กเสริมที่โดนช่องเปิดขวางจะต้องไม่เกิน ¼ ของปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดในแถบเสาหรือแถบกลางนั้นๆ
(ACI 13.4.2.3) สำหรับพื้น
post tension ในบริเวณนี้ การจัดระยะลวดอัดแรงในแนว
Band direction จะเป็นตัวกำหนดขนาดของช่องเปิด แสดงดังรูปด้านล่าง ดังนั้นในบริเวณนี้ การออกแบบพื้น
POST TENSION จึงควรวิเคราะห์โดยคำนึงถึงผลของช่องเปิดด้วย
นอกจากนี้
ACI 13.4.2.4 ยังกำหนดให้ตรวจสอบกำลังรับแรงเฉือนในบริเวณที่มีช่องเปิดด้วย โดยช่องเปิดที่อยู่ในระยะน้อยกว่า 10 เท่าของความหนาพื้น
(ACI 11.11.6) จะมีผลต่อการคิดระยะเส้นรอบรูปของหน้าตัดวิกฤติ,bo แสดงดังรูป
2.ช่องเปิดที่เจาะเพิ่มหลังการก่อสร้าง
ในการเจาะช่องเปิดหลังการก่อสร้าง จำเป็นจะต้องวิเคราะห์โครงสร้างใหม่ทุกครั้งเพื่อตรวจสอบผลของช่องเปิดที่ทำให้กำลังรับน้ำหนักของแผ่นพื้นลดลง โดยบริเวณช่องเปิดต้องใช้ค่าความกว้างของ design strip ลดลง และถ้าช่องเปิดใหม่มีตำแหน่งใกล้เสา จะต้องคำนึงถึงกำลังรับแรงเฉือนเจาะทะลุที่ลดลงด้วย โดยทั่วไปจะเลือกเจาะช่องเปิดในตำแหน่งที่ส่งผลกระทบกับพื้นน้อยที่สุด และที่สำคัญจะพยายามไม่ให้ตัดลวดอัดแรงขาด
ในทำนองเดียวกับกรณีแรก ตำแหน่งที่พยายามหลีกเลี่ยงในการเจาะช่องเปิด จะเป็นพื้นที่หมายเลข 3 เพราะนอกจากทำให้กำลังรับน้ำหนักลดลงแล้ว จะส่งผลกระทบกับกำลังรับแรงเฉือนเจาะทะลุตำแหน่งที่ส่งผลน้อยที่สุดคือพื้นที่หมายเลข 1 เมื่อเจาะช่องเปิดใหม่แล้วตรวจสอบกำลังรับน้ำหนัก โอกาสผ่านมีค่อนข้างสูง
ในพื้นที่หมายเลข 2 จะเป็นบริเวณที่มีลวดอัดแรงแนว
Band direction ทิศทางหนึ่งและลวดอัดแรงแนว
Distributed direction อีกทิศทางหนึ่ง ขนาดของช่องเปิด โดยทั่วไปในพื้นที่หมายเลข 2 ที่มีลวดแนว
Distributed direction จะสามารถเจาะช่องเปิดที่มีขนาดใหญ่กว่า แต่ช่องเปิดที่มีขนาดใหญ่ก็จะส่งผลให้ความกว้างของ
design strip ลดลง
การตัดพื้นเพื่อทำช่องเปิดต้องใช้เครื่องมือการตัดที่สามารถควบคุมแนวตัดให้ได้ตรงตามที่กำหนดไว้ และไม่ทำให้คอนกรีตในบริเวณอื่นเสียหายทั้งช่องเปิดรูปสี่เหลี่ยมและการ
coring
รูปภาพ การตัดพื้น
รูปภาพ การ Coring
รูปภาพ การ scan หาตำแหน่งของลวดอัดแรง
ก่อนตัดพื้นถ้าไม่ต้องการให้ตัดถูกลวดอัดแรง ควรทำการ
scan หาตำแหน่งของลวดอัดแรงในบริเวณที่ต้องการตัดพื้น เพื่อเป็นการตรวจสอบก่อนตัดพื้น
สำหรับในกรณีที่ช่องเปิดที่เจาะใหม่จำเป็นต้องตัดลวดอัดแรงบางเส้น พื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงระบบมีแรงยึดเหนี่ยว
(Bonded system) สามารถทำได้โดยจะไม่มีการหดกลับของลวดอัดแรง เนื่องจากมีปูน
Grout ที่อยู่ภายในท่อ
Corrugated sheath เป็นตัวจับลวดไว้ การคิดกำลังของพื้นที่มีช่องเปิดใหม่จะต้องคำนึงถึงผลของลวดอัดแรงที่โดนตัดขาดด้วย
เมื่อลวดอัดแรงโดนตัดขาด การถ่ายแรงของลวดที่เหลืออยู่จะเปลี่ยนไป โดยที่ขอบช่องเปิดลวดตำแหน่งนั้นจะมีค่าแรงอัดเป็นศูนย์ และจะมีค่าสูงขึ้นจนถึงค่าเดิมก่อนลวดขาดที่ระยะเท่ากับระยะ
Transfer length,Lt
จะเห็นว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแรงในลวดอัดแรงมีลักษณะไม่เป็นเส้นตรง แต่สามารถทำเป็นสูตรอย่างง่ายเพื่อใช้ในการคำนวณได้ดังนี้
Lt =1.5f_si/(f_ci^' )db – 11.7 หน่วยเป็น
cm โดยที่
fsi คือแรงดึงในลวดเริ่มต้น และ
f’ci คือกำลังของคอนกรีตขณะดึงลวด ขณะที่
ACI แนะนำให้ใช้ค่าโดยประมาณเท่ากับ
Lt = 50db ซึ่งจะได้ค่าน้อยกว่าสูตรแรกเมื่อ
fc’ มีค่าต่ำ
ดังนั้น ในการทำช่องเปิดที่มีการตัดลวดอัดแรงขาดจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อยึดปลายลวดอัดแรงไม่ให้หดตัวกลับในอนาคต และคำนึงถึงแรงอัดที่ลดลงในบริเวณรอบๆ ช่องเปิดที่ตัดลวดขาด อาจจะต้องเสริมความแข็งแรงรอบช่องเปิดด้วยวิธีเสริมเหล็กกันแตกรอบช่องเปิด โดยเปิดช่องเปิดให้กว้างกว่าที่ต้องการ ติดตั้งเหล็กเสริมรอบช่องเปิดแล้วเทกลับตามขนาดช่องเปิดที่ต้องการ
อีกวิธีหนึ่งในการเสริมกำลังที่ขอบช่องเปิดคือใช้แผ่นเหล็กหรือ
CFRP ในการเสริมกำลังรอบช่องเปิดทั้งผิวบนและผิวล่าง ดังรูป
รูปภาพ การเสริมกำลังที่ขอบช่องเปิดคือใช้แผ่น CFRP
สำหรับกรณีช่องเปิดที่จำเป็นต้องเจาะใหม่อยู่ใกล้เสา ทำให้กำลังรับแรงเฉือนเจาะทะลุลดลง สามารถเสริมกำลังรับแรงเฉือนเจาะทะลุเพิ่มโดยใช้หูช้างเหล็ก ดังรูป
รูปภาพ การเสริมกำลังรับแรงเฉือนเจาะทะลุเพิ่มโดยใช้หูช้างเหล็ก
จะเห็นว่าการออกแบบพื้นที่มีช่องเปิดทั้งสองลักษณะ จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบผลกระทบของช่องเปิดต่อกำลังการรับแรงของพื้น ถ้าช่องเปิดมีขนาดเล็ก หรือไม่ได้อยู่ในแนว
column strip ตัด
column strip โดยทั่วไปสามารถใช้วิธี
Equivalent frame method โดยใช้ค่าความกว้างของ
design strip ที่ถูกต้องได้ และถ้าช่องเปิดมีขนาดใหญ่และอยู่ในบริเวณที่วิกฤติ ควรใช้วิธี
Finite element method ในการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลที่ใกล้เคียงพฤติกรรมจริงของโครงสร้างมากที่สุด
ดาวน์โหลดบทความคลิก!!
เอกสารอ้างอิง
1. ACI Committee 318; “Building Code Requirements for Structural Concrete (ACI 318-11) and Commentary”
2. M.E. Kamara, L.C. Novak; “Notes on ACI 318-11 Building Code Requirements for Structural Concrete with Design Application”
3. M.C.Mota, M.E.Kamara ; ”An Engineer’s Guide to Openings in Concrete Floor”
4. T.Y. Lin, N.H. Burns ; “Design of Prestressed concrete structures”3rd Edition
เรียบเรียงโดย
ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ [วย. 1924]
Unknown
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559